ประวัติของบล็อกเชน

ประวัติของบล็อกเชน

บล็อกเชนคืออะไร?

บล็อกเชน (Blockchain) คือเทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานของคริปโทเคอร์เรนซีที่มีคุณสมบัติในการทำให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันโดยไม่ต้องเชื่อใจกันและกัน




ต้นกำเนิด



ในช่วงปี ค.ศ.1991 แนวคิดของบล็อกเชนถูกสร้างขึ้นโดย นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ Stuart Haber และ W. Scott Stornetta เพื่อหาวิธีการทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้จริงสำหรับการประทับเวลาให้กับเอกสารดิจิทัล ทำให้หมดปัญหาเรื่องการแก้ไขเวลา



ในระบบนี้ ทั้ง 2 ได้เก็บตัวเอกสารดิจิทัลที่ถูกประทับเวลาไว้ในชุดข้อมูลที่เรียกว่า “บล็อก” โดยแต่ละบล็อกจะเชื่อมต่อกันโดยมีการลงรหัสเป็นตัวควบคุมความปลอดภัย ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 ระบบต้นไม้แฮช (Merkle tree) ก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาต่อยอด ทำให้สามารถเก็บเอกสารหลายไฟล์ไว้ภายในบล็อกเดียวได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ก็ไม่ได้ถูกใช้ต่อและหมดอายุสิทธิบัตรไปในปี ค.ศ. 2004 (4 ปีก่อนการกำเนิดบิทคอยน์)




Reusable Proof Of Work



ในปี ค.ศ. 2004 Hal Finney (Harold Thomas Finny II) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Scientist) และนักกิจกรรมด้านวิทยาการเข้ารหัส (Cryptographic Activist) ได้คิดค้นระบบหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า RPoW (Reusable Proof-of-Work) ซึ่งเป็นระบบที่จะเริ่มต้นการทำงานเมื่อรับเหรียญที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนหรือมีซำ้กันได้ (Non-exchangeable or Non-fungible Token) มา แล้วตอบแทนด้วยเหรียญ ที่สามารถถ่ายโอนได้รูปแบบบุคคล-บุคคล (Peer-to-peer)



RPoW แก้ปัญหา Double spending ซึ่งเป็นปัญหาหลักของสกุลเงินดิจิทัลในสมัยนั้น โดยการเก็บสิทธิในการถือครองของเหรียญไว้บนเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อถือได้ (trusted server) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานรอบโลกสามารถยืนยันความถูกต้องและความสมบูรณ์ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ระบบนี้ถูกระบุว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของคริปโทเคอเรนซี่ทั้งหลายในปัจจุบัน




บล็อกเชนของบิตคอยน์



ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2008 Whitepaper ฉบับหนึ่งได้ถูกเผยแพร่สู่รายชื่อผู้รับจดหมายการเข้ารหัส (Cryptography Mailing List) โดยซาโตชิ นากาโมโต้ (Satoshi Nakamoto) นามแฝงของบุคคลหรือกลุ่มกลุ่มหนึ่ง ซึ่งใน Whitepaper ฉบับนี้ก็ได้มีการนำเสนอบิทคอยน์ว่าเป็นระบบทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ไร้ศูนย์กลางแบบบุคคล-บุคคล (Decentralized electronic peer-to-peer system) ที่ใช้บล็อกเชนเป็นครั้งแรก



ในการยืนยันธุรกรรมและป้องกันปัญหา Double Spending บิตคอยน์จะใช้ระบบ Proof-of-Work (PoW) ที่มีพื้นฐานมาจาก Hashcash ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ RPoW ของ Hal Finny แต่บิตคอยน์จะต้องถูกขุด (Mining) เพื่อการยืนยันธุรกรรมโดยบรรดาเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายหรือที่เรียกว่า Node และในขณะเดียวกันก็จะตอบแทนนักขุด (Miner) ด้วยเหรียญบิตคอยน์

ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2009 เครือข่ายบิตคอยน์ก็ได้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกหลังจากซาโตชิ นากาโมโต้ ได้ขุดบล็อกบิตคอยน์บล็อกแรก เขาได้รางวัลในการขุดอยู่ที่ 50 BTC และได้ส่งต่อให้ Hal Finney ในวันที่ 12 มกราคม ในปีเดียวกัน เป็นจำนวน 10 BTC ทำให้ Hal Finney เป็นผู้รับบิตคอยน์คนแรกของโลก




Ethereum



ในปี 2013  นาย Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์และผู้ร่วมก่อตั้งของบิทคอยน์แมกกาซีน (Bitcoin Magazine) ชาวรัสเซีย ได้ระบุไว้ว่าบิทคอยน์นั้นต้องการภาษาสคริปต์ของตัวเองในการสร้างแอปพลิเคชั่นไร้ตัวกลาง (dApps) ขึ้น เสียงส่วนมากต่างเห็นต่างจากเขา ทำให้ Vitalik Buterin เลือกที่จะสร้างบล็อกเชนของตัวเองขึ้นมาใหม่ ชื่อ Ethereum ที่ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ที่มีฟังก์ชันการเขียนสคริปต์ที่เรียกว่า “สัญญาอัจฉริยะ” หรือ Smart contracts



สัญญาอัจฉริยะ คือโปรแกรมหรือสคริปต์ที่ถูกปล่อยและใช้งานบนบล็อกเชน Ethereum สมาร์ทคอนแทรคนั้นถูกเขียนด้วยภาษาเฉพาะ (Solidity) และถูกประมวลไปเป็นไบต์โค้ด จากนั้นระบบ Turing-complete Virtual Machine ที่ชื่อ Ethereum Virtual Machine (EVM) จะอ่านและดำเนินการ



ด้วยระบบสัญญาอัจฉริยะ นักพัฒนาซอล์ฟแวร์สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นของตัวเองบนบล็อกเชน Ethereum ได้ ซึ่งแอปพลิเคชั่นพวกนี้ก็ถูกยกว่าเป็น DApps หรือ แอปพลิเคชั่นไรตัวกลาง 



ณ ปัจจุบันมากกว่า 3000 แอปพลิเคชันได้ถูกสร้างบนบล็อกเชนนี้ ซึ่งแต่ละแอปก็มีการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่แอปการเงิน แอปพนัน โซเชี่ยลมีเดี่ย จนไปถึงเกมส์ ซึ่งเหรียญคริปโตของ Ethereum นั้น ก็มีชื่อเรียกว่า Ether (ETH) ซึ่งถูกใช้งานในการแลกเปลี่ยน และจ่ายภาษีสำหรับพลังงานคอมพิวเตอร์ที่ใช้จากสมาร์ทคอนแทรค



อ้างอิง:



Binance Academy

Blockchain

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด