โหนดคืออะไร?

โหนดคืออะไร?

โหนดทั่วไปคืออะไร?



โหนด (Nodes) คือ ผู้ใช้งานในระบบที่ทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ และมีส่วนในการช่วยรักษาความเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ (Decentralization) จึงทำให้ไม่ต้องมีการควบคุมโดยตัวกลางที่เป็นองค์กรหรือสถาบันใด ๆ แต่เครือข่ายก็ยังสามารถมีความน่าเชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ใช้ช่วยกันตรวจสอบรายการธุรกรรมที่ถูกส่งเข้ามาผ่านกลไกฉันทามติ (Consensus Algorithm)



ในบทความนี้ เราะจะมาดูกันว่าภายในเครือข่ายบล็อกเชนของ Bitcoin มีโหนดอะไรบ้าง และแต่ละโหนดมีหน้าที่ต่างกันอย่างไร





โหนดบิตคอยน์คืออะไร?



โหนดบิตคอยน์ คือชื่อเรียกโหนดทุกประเภทในบล็อกเชนของบิตคอยน์ ซึ่งภาพรวมหน้าที่หลัก ๆ คือการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม พร้อมสื่อสารระหว่างโหนดด้วยกันเพื่อสร้างฉันทามติ (Bitcoin Nodes)



สำหรับโหนดแต่ละประเภทในเครือข่ายของบิตคอยน์ มีดังต่อไปนี้



1. Full Nodes



โหนดประเภทนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีหน้าที่ดูแลและรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายบล็อกเชน โดย Full Node นอกจากจะสามารถยืนยันธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่ได้แล้ว Full Nodes คือผู้ที่มีหน้าที่ส่งต่อสำเนาธุรกรรมไปยังโหนดอื่น ๆ ในเครือข่าย เพื่อช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ดังนั้น เครื่องที่รัน Full Nodes จำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดของ Bitcoin ตั้งแต่บล็อกแรกจนถึงบล็อกล่าสุด ซึ่งต้องมีพื้นที่หน่วยความจำอย่างน้อย 200 GB หรืออาจมากกว่านั้นในปัจจุบัน และต้องเปิดเครื่องให้ทำงานอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการรัน Full Nodes มีอยู่หลายตัวด้วยกัน แต่ที่นิยมคือ Bitcoin Core 



2. Miner Nodes



Miner Nodes คือโหนดที่ทำหน้าที่ขุดเหรียญด้วยการประมวลผลเพื่อแก้ไขสมการและยืนยันธุรกรรมร่วมกับโหนดอื่น ๆ หรือเรียกว่านักขุด โดยนักขุดที่สามารถแก้ไขสมการได้ก่อนจะได้รับรางวัลเป็นเหรียญ BTC ซึ่งการที่จะสามารถแข่งขันกับนักขุดคนอื่นได้ Miner Nodes จำเป็นต้องมีเครื่องมือสำหรับขุดโดยเฉพาะ เช่น การ์ดจอ (GPU) หรือ เครื่อง ASIC

นอกจากนี้ นักขุดสามารถทำงานเดี่ยว หรือจับกลุ่มเป็น Pool เพื่อช่วยกันขุดและแบ่งรางวัลจากการสร้างบล็อกสำเร็จ โดย Miner Nodes อาจไม่จำเป็นต้องดาวน์โหนดข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดของเครือข่าย Bitcoin ขึ้นอยู่กับซอท์ฟแวร์ที่ใช้ แต่เครื่องที่เป็น Admin ของ Pool จำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลธุรกรรมทั้งหมด 



3. SPV



Simplified Payment Verification หรือ SPV คือ โหนดที่สามารถสื่อสารบล็อกเชนของบิตคอยน์ได้ แต่ไม่มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม และไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลธุรกรรมทั้งหมด โหนด SPV จึงถูกใช้ในการดึงข้อมูลจากบล็อกเชนเพื่อนำมาแสดงผลและติดตามข้อมูล หรือก็คือ Wallet นั่นเอง





สรุป



ผู้ใช้ในเครือข่ายบล็อกเชนของบิตคอยน์จะเรียกว่าโหนด (Node) ซึ่งทำงานและสื่อสารกันแบบบุคคล-บุคคล (Peer-to-peer) ถึงแม้จะมีการแบ่งประเภทโหนด แต่ทุกโหนดต่างมีบทบาทในการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม พร้อมรักษาความมั่นคง ปลอดภัย และโปร่งใสของเครือข่ายในแบบกระจายศูนย์อำนาจ (Decentralized) ที่ไม่ต้องพึ่งการควบคุมจากตัวกลาง 





อ้างอิง



Binance Academy, Medium, InfoQ

Terms

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด