อัตราดอกเบี้ยคืออะไร?

อัตราดอกเบี้ยคืออะไร?

อัตราดอกเบี้ยคือสิ่งที่เข้าใจยาก จริงหรือไม่?

เข้าใจง่าย ๆ อัตราดอกเบี้ยคือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ขอกู้และผู้ปล่อยกู้ โดยผู้ขอกู้จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มจากจำนวนเงินที่กู้ เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายสำหรับการขอกู้เงินจำนวนนึง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยคำนวณด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น จำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลาในการกู้ ไปจนถึงความน่าเชื่อถือของผู้ขอกู้ เป็นต้น



ยกตัวอย่างให้เข้าใจโดยง่าย หากนาย A ต้องการกู้ยืมเงินจำนวน 100,000 บาท จากนาย B โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5% เมื่อถึงเวลา นาย A ต้องคืนเงินให้ นาย B เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100,500 บาท เป็นต้น





ความสำคัญของอัตราดอกเบี้ย



อัตราดอกเบี้ยมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพื่อให้มีการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งธนาคารมีหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างผู้ขอกู้ และผู้ปล่อยกู้ การมอบอัตราผลตอบแทนกับผู้ที่นำเงินเข้ามาฝากในธนาคาร โดยการคิดอัตราดอกเบี้ยกับผู้ขอกู้ยืม แต่จะมีการหักเปอร์เซ็นต์ออกส่วนหนึ่ง เพื่อรองรับความเสี่ยงแทนผู้ปล่อยกู้ หรือผู้ฝากเงิน



การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอย่างมีประสิทธิภาพยังส่งผลดีให้ภาพรวมของระบบเศรษฐกิจอีกด้วย โดยอัตราดอกเบี้ยต่ำสามารถกระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมจากบุคคลหรือองค์กรเพื่อนำไปลงทุนหรือใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่ก็ส่งผลให้มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเพราะมีปริมาณเงินหมุนเวียนในตลาดสูงขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรยังเท่าเดิม



ในทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงจะส่งผลให้เกิดการกู้ยืมลดน้อยลง ผู้ขอกู้จะทยอยชำระหนี้และหลีกเลี่ยงการขอกู้เพิ่ม ส่งผลให้ความต้องการใช้เงินโดยรวมต่ำลง อัตราเงินเฟ้อจึงลดลง 



จะเห็นได้ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย พร้อมกับควบคุมอัตราเงินเฟ้อไปเพื่อให้เกิดดุลยภาพต่อระบบเศรษฐกิจอีกด้วย





การทำงานของอัตราดอกเบี้ย



อัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นในการกู้ยืมเพื่อเป็นผลตอบแทนให้แก่ผู้ปล่อยกู้ โดยผู้ปล่อยกู้ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือธนาคาร ซึ่งธนาคารจะนำเงินที่ลูกค้าฝากประจำเอาไว้ไปปล่อยกู้ให้กับลูกค้าคนอื่น หากไม่มีผลตอบแทนในการฝาก ก็คงไม่มีใครอยากฝากเงินกับธนาคาร เพราะเล็งเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องฝากให้คนอื่นถือเงินแทนตัวเอง 



การกู้ยืมอาจนำไปใช้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ รถ บ้าน ที่ดิน ชำระค่าเล่าเรียน ไปจนถึงการลงทุนหรือพัฒนาธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งการชำระหนี้เงินกู้อาจทำได้ในรูปแบบของการชำระรายเดือน รายปี หรือตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างผู้ขอกู้และผู้ปล่อยกู้



อัตราดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนเช่นเดียวกัน เพราะผู้ฝากประจำกับธนาคารสามารถหารายได้เพิ่มจากเงินเก็บที่ยังไม่มีแผนนำไปใช้จ่าย โดยสามารถคิดเป็นรูปแบบของ APR (Annual Percent Rate) หรือ APY (Annual Percent Yield) 





อัตราดอกเบี้ยทบต้นคืออะไร?



อัตราดอกเบี้ยทบต้น หรือ Compound Interest rate เป็นหนึ่งในรูปแบบการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ไม่ว่าจะผ่านตัวกลางหรือไม่ก็ตาม โดยมักจะแสดงเป็น APY (Annual Percent Yield) ซึ่งคำนวณจากเงินต้นร่วมกับผลตอบแทนที่อาจเข้ามาเป็นรายเดือน ไตรมาส หรือครึ่งปี เป็นต้น



วิธีการคำนวณอัตราดอกเบี้ยทบต้น คือการคำนวณเงินต้นร่วมกับผลตอบแทนที่จะได้ระหว่างการฝากทบกันเงินต้นไปเรื่อย ๆ ยิ่งระยะเวลาฝากนาน ความแตกต่างก็จะยิ่งเห็นได้ชัด ต่างจาก APR (Annual Percent Rate) คำนวณผลตอบแทนจากเงินต้นเพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนวณการนำผลตอบแทนมาทบกับเงินต้นแต่อย่างใด





อัตราดอกเบี้ยติดลบคืออะไร?



อัตราดอกเบี้ยติดลบ หรือ Negative Interest rate เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดยเริ่มต้นจากประเทศเดนมาร์ก ที่ออกนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบสำหรับการกู้ยืมในปี ค.ศ. 2012 เมื่ออัตราดอกเบี้ยระดับต่ำไม่สามารถกระตุ้นให้คนหันมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นได้เหมือนเมื่อก่อน



เพื่อรักษาระดับดุลยภาพของเศรษฐกิจ ธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องปรับให้อัตราดอกเบี้ยติดลบ หมายความว่าเงินที่ใช้ชำระหนี้เงินกู้น้อยกว่าเงินที่กู้ยืมไปเสียด้วยซ้ำ หรือ ลูกค้าอาจเสียเงินจากการฝากประจำได้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างคึกคัก



ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ผู้คนอาจเลือกออมเงินไว้กับตัวเองและรอการกลับมาของภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่ถ้าผู้คนไม่นำเงินออกมาใช้ เศรษฐกิจก็ไม่สามารถฟื้นตัวได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจแย่ไปกว่าเดิม การนำอัตราดอกเบี้ยติดลบมาใช้เพื่อเป็นการบังคับให้ผู้คนนำเงินออกมาใช้ทางอ้อม ถือเป็นตัวเลือกสุดท้ายในกรณีที่เศรษฐกิจซบเซา หรือเกิดเหตุการณ์ผิดปกติทางเศรษฐกิจเท่านั้น 





สรุป



อัตราดอกเบี้ยมีไว้ควบคุมภาวะของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำหรือติดลบสามารถกระตุ้นให้ผู้คนนำเงินออกมาใช้จ่ายมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะคึกคักและเติบโต แต่ในทางกลับกันก็อาจทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น 



ส่วนอัตราดอกเบี้ยระดับสูง จะโน้มน้าวให้ผู้คนเลือกฝากเงินกับธนาคารมากขึ้น แม้เศรษฐกิจอาจจะชะลอการเติบโตลง แต่ก็สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้โตเร็วเกินไปได้

การเข้าใจถึงการทำงานของอัตราดอกเบี้ย จะสามารถช่วยให้เราบริการและจัดการเงินเก็บของเราได้อย่างถูกวิธี และอาจทำให้เราสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของเศรษฐกิจในขณะนั้น เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเหมาะสมในการใช้จ่ายหรือลงทุนหรือไม่





อ้างอิง:



Binance Academy, Investopedia

Terms

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด