Polkadot (DOT) คืออะไร?

Polkadot (DOT) คืออะไร?

Polkadot คืออะไร? และมีความแตกต่างกับ Kusama อย่างไร?

Polkadot คือเครือข่ายบล็อกเชนที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2020 จากฝีมือของ Gavin wood อดีตหนึ่งในทีมผู้สร้าง Ethereum โดย Polkadot มีจุดประสงค์ที่คล้ายกับ Ethereum และ Cardano แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยี Relay Chain, Parachains, และ Bridges ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อบล็อกเชนอื่น ๆ เข้าด้วยกัน Polkadot จึงเรียกเครือข่ายของตัวเองว่าเป็น Internet of Blockchain



ทาง Gavin Wood เชื่อว่าเทคโนโลยีของ Polkadot สามารถพัฒนาความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยได้เรื่อย ๆ เพราะยิ่งมีคนฝากเหรียญในระบบมากขึ้นเท่าไหร่ การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างบล็อกเชนก็จะยิ่งมากขึ้น



ในช่วงแรกที่เครือข่ายเริ่มทำงาน Polkadot ใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof of Authority (PoA) โดยมีองค์กรในเครือ Web3 Foundation รับหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ (Validator) ข้อมูลบนเครือข่าย ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ Nominated Proof of Stake ในภายหลัง



มากไปกว่านั้น Polkadot ยังมีระบบฉันทามติในแบบของตัวเองที่ส่งเสริมให้เครือข่ายสามารถทำงานแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ยิ่งกว่าเดิม ด้วยการเปลี่ยนการคัดเลือกผู้ตรวจสอบในแบบปกติสำหรับ Proof of Stake ที่โอกาสในการถูกเลือกขึ้นอยู่กับจำนวนเหรียญที่ฝากไว้ มาเป็นการคัดเลือกผ่านการโหวตแทน





เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ Polkadot



เทคโนโลยีอย่าง Relay Chain, Parachains, Parathreads และ Bridge ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Polkadot คือสิ่งที่เสริมสร้างความแข็งแกร่ง การทำงานร่วมกัน และการขยายเครือข่ายเพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย





Polkadot Coin ทำอะไรได้บ้าง?



ระบบฉันทามติแบบ Nominated Proof of Stake (NPoS) เปิดโอกาสให้ผู้ที่ถือเหรียญ Polkadot Coin (เหรียญ DOT ) ครบตามเกณฑ์ขั้นต่ำสามารถร่วมเป็นผู้ตรวจสอบ (Validator) และผู้เสนอชื่อผู้ตรวจสอบ (Nominator) เพื่อตรวจสอบข้อมูลและทำให้เครือข่ายมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นได้เช่นกัน 

NPoS ถูกใช้โดยเครือข่ายบล็อกเชนของ Polkadot ที่มีการออกแบบระบบดังกล่าวให้มีความกระจายอำนาจกว่าเดิม ผ่านการโหวตเพื่อคัดเลือกผู้ตรวจสอบธุรกรรมในแต่ละครั้ง และอำนาจในการตรวจสอบไม่ตกไปอยู่กับกลุ่มคนที่ฝากเหรียญไว้ในระบบมากกว่าคนอื่น



อำนาจในการเลือกผู้ตรวจสอบมีความแตกต่างตามปริมาณเหรียญที่ฝากไว้ในระบบ (Staking) เมื่อตรวจสอบธุรกรรมเรียบร้อย เงินรางวัล (Reward) ก็จะถูกแบ่งระหว่างผู้ตรวจสอบและผู้ที่เลือกผู้ตรวจสอบ โดยคำนวณจากปริมาณเหรียญที่ฝาก





จุดเด่นของ Polkadot คืออะไร?



สำหรับการเชื่อมต่อ (Connecting) เทคโนโลยีอย่าง Relay Chain คือแกนกลางสำคัญของ Polkadot ที่จะเชื่อมต่อบล็อกเชนให้มีความปลอดภัยมากขึ้นตามจำนวนผู้ใช้งาน และ Parachains ที่ช่วยด้านการปรับแต่งบล็อกเชนภายในให้เข้ากับการใช้งานที่แตกต่างไม่ว่าจะเป็นแอปฯกระจายศูนย์ (dApps) หรือแม้กระทั่ง โทเคนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งนักพัฒนาจำเป็นต้องใช้ Polkadot Coin สำหรับการใช้งานฟังก์ชันเหล่านี้ 

ในแง่ของความยืดหยุ่น (Flexibility) นอกจาก Parachains แล้วยังมี Parathreads ที่มีทำงานใกล้เคียงกัน แต่เป็นการใช้ Polkadot Coin เพื่อชำระค่าบริการเพียงชั่วคราวสำหรับการใช้งานเชิงธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายบล็อกเชนตลอดเวลา และ Bridges ที่จะช่วยให้บล็อกเชนภายใน Polkadot สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่น ๆ ได้เช่น Ethereum หรือ Bitcoin เป็นต้น





ความแตกต่างระหว่าง Polkadot และ Kusama



การพัฒนาหรือกฎเกณฑ์ภายในเครือข่าย Polkadot อาจใช้เวลาที่นานกว่า Kusama แต่ก็เป็นนโยบายเพื่อการพัฒนาที่มีทั้งประสิทธิภาพและเสถียรภาพไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการลงคะแนนเสียงเพื่ออนุมัติการพัฒนา หรือระยะเวลาในการอัพเกรดเครือข่าย Polkadot อาจใช้เวลาถึง 56 วันหรือเกือบ 2 เดือนเลยทีเดียว



Polkadot คือเครือข่ายที่ออกแบบโครงสร้างมาให้มีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพในการทำงานที่สูงกว่า Kusama เหมาะสมในการทำงานของแอปพลิเคชันกระจายศูนย์ (dApps) ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น โปรเจกต์ขององค์กรใหญ่ ๆ ที่ต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ หรือใช้งานเชิงการเงินก็ได้เช่นกัน





สรุป 

Polkadot คือเครือข่ายบล็อกเชนที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานฟังก์ชันสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) โดยมีจุดเด่นด้านการเชื่อมต่อบล็อกเชนอื่น ๆ เข้าด้วยกันด้วยเทคโนโลยีอย่าง Relay Chain, Parachains, Parathreads และ Bridge จึงเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่น่าติดตาม



อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ





อ้างอิง: Polkadot, Wiki Pokadot

Crypto

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด