Proof of Work (POW) คืออะไร ?

Proof of Work (POW) คืออะไร ?

Proof of Work คืออะไร



Proof-of-Work (PoW) คือ กลไกฉันทามติหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องในบล็อกเชน ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา Double-spending หรือการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลหนึ่งหน่วยมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยผู้สร้างได้เพิ่มกลไกลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital signature) เพื่อกำกับเวลาที่ใช้เหรียญนั้น ๆ เพื่อไม่ให้สามารถถูกนำไปใช้ได้ซ้ำ

Proof-of-Work ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดย Cynthia Dwork และ Moni Naor เพื่อใช้แก้ปัญหาการโจมตีที่ส่งคำสั่งจำนวนมากไปยังเซิฟเวอร์เพื่อให้เกิดการทำงานหนัก หรือที่เรียกว่า Denial-of-Service attack (DoS attack) ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 เมื่อ Bitcoin เริ่มเปิดเครือข่าย Proof-of-Work ก็ถูกนำมาใช้สำหรับกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องในการทำธุรกรรมหรือที่เรียกว่า ฉันทามติ (Consensus)





Proof of Work ทำงานอย่างไร



Proof-of-Work คือการทำงานที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการตรวจสอบธุรกรรม โดยใช้การประมวลผลของฮาร์ดแวร์เพื่อแก้สมการที่ซับซ้อน ซึ่งสมการจะแตกต่างกันไปตามเครือข่ายที่ใช้ ก่อนจะนำข้อมูลธุรกรรมที่บรรจุอยู่ในบล็อกไปเรียงต่อกันในเชน เราจะเรียกกระบวนการนี้ว่าการขุด (Mining) ทุกคนสามารถร่วมกันเพื่อตรวจสอบธุรกรรมได้ และจะเรียกพวกเขาเหล่านี้ว่านักขุด (Miner)



ในการตรวจสอบธุรกรรมก็จะมีนักขุดจำนวนมากที่แข่งขันกันแก้สมการ  และจะมีค่าความยากในการสุ่ม โดยระบบจะตั้งค่าที่เรียกว่า “Nonce” ขึ้นมา โดยความยากของการขุดจะถูกปรับให้สามารถแก้ไขได้โดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 10 นาทีสำหรับ Bitcoin หรือจะมีกลไกอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเครือข่ายนั้นๆกำหนด หากมีนักขุดจำนวนมาก ความยากในการขุดก็จะสูงขึ้น หากมีนักขุดน้อย ความยากก็จะต่ำลง เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ตั้งไว้



นอกจากนั้นในกลไกก็จะมีการสร้างค่าแฮช (Hash) ซึ่งเกิดจากการเข้ารหัสด้วยชุดข้อมูลที่อยู่ภายในบล็อก และจะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อข้อมูลมีการแก้ไข โดยมีไว้เพื่อยืนยันและเชื่อมบล็อกเข้าด้วยกัน ด้วยการตรวจสอบบล็อกปัจจุบันจะดูค่าแฮชของบล็อกก่อนหน้าว่าตรงกันหรือไม่ โดยค่าแฮชจะไม่มีทางซ้ำกันและค่านี้อาจแตกต่างกันไปตามเครือข่าย เช่น Bitcoin จะใช้ SHA-256 ในการเข้ารหัส ส่วน Ethereum จะใช้ Ehashในการเข้ารหัส นี่เป็นอีกส่วนที่สำคัญว่าทำไมบล็อกเช่นถึงถูกแก้ไขไม่ได้



หากใครที่สามารถหาคำตอบเจอก่อน ก็จะถูกส่งไปยังนักขุดคนอื่นๆเพื่อให้ช่วยยืนยันความถูกต้อง หากคำตอบนั้นถูกต้องจริงนักขุดที่พบคำตอบคนแรกก็จะได้รางวัลเป็นเหรียญคริปโตฯนั้นๆ

นักขุดสามารถรวมตัวเพื่อแบ่งปันกำลังขุดร่วมกันได้ หรือที่เรียกว่า Mining Pools ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเป็นผู้แก้สมการได้คนแรกจากกำลังขุดมหาศาลได้ ผลตอบแทนที่ได้นั้นก็จะถูกแบ่งไปตามผู้เข้าร่วม





ปัญหาของ Proof of Work



1. การใช้พลังงานไฟฟ้า

เนื่องจาก Proof-of-Work นั้นใช้พลังงานไฟฟ้าในการตรวจสอบธุรกรรม นั่นทำให้แาจเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและค่าไฟฟ้าที่สูงได้



2. การรวมศูนย์อำนาจ

การรวมตัวกันของนักขุดรายย่อย หรือ Mining Pools เพื่อช่วยกันขุดและเพิ่มโอกาสสุ่มเจอค่าสมการที่ถูกต้อง แต่กลับกลายเป็นการรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งขัดแย้งต่อวัตถุประสงค์ในการเป็นระบบกระจายศูนย์ของบล็อกเชน



3. การโจมตี 51%

การมีโอกาสรวมศูนย์อำนาจอาจเป็นสาเหตุของการโจมตี 51% ได้ หรือก็คือการที่มีกลุ่มคนที่มีกำลังขุดมากกว่า 51% ของกำลังขุดทั้งหมดในเครือข่าย ซึ่งจะสามารถทำให้การตรวจสอบธุรกรรมมีความถูกต้องได้แม้จะถูกดัดแปลงแก้ไขก็ตาม แต่โอกาสที่จะเกิดนั้นก็ขึ้นอยู่กับเครือข่ายหรือเหรียญนั้น ๆ





อ้างอิง:



Investopedia, wikipedia, Binance Academy, coindesk, efinancethai

Blockchain

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด