Wanchain (WAN) คืออะไร?

Wanchain (WAN) คืออะไร?

เหรียญอรรถประโยชน์อย่าง Wanchain (WAN) คืออะไร?

เหรียญ WAN คือเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2017 โดย Jack Lu ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีความสนใจเกี่ยวกับบล็อกเชน ซึ่ง WAN เป็นสกุลเงินที่ใช้ภายในเครือข่าย Wanchain ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรม การเชื่อมต่อข้ามเครือข่าย หรือการใช้งานสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)



มากกว่านั้น Wanchain ยังมีวัตถุประสงค์เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเครือข่ายบล็อกเชนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum, Ripple, EOS, และอื่น ๆ





จุดเริ่มต้นของ Wanchain เป็นอย่างไร?



จุดเริ่มต้นของ Wanchain มาจากการที่สินทรัพย์ดิจิทัลมีสกุลเงินที่หลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ แต่มีการทำงานแค่ภายในเครือข่ายของตน หรือการทำงานของบล็อกเชนประเภทต่าง ๆ อย่างบล็อกเชนสาธารณะ (Public), แบบปิด (Private) และแบบผสม (Consortium) ซึ่ง Wanchain ต้องการเป็นสะพานเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ บนโลกดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกันที่ลงตัวและราบรื่น



ปัจจุบัน แม้การโอนเหรียญคริปโตสามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ยังคงมีข้อจำกัดอยู่ โดยเฉพาะการโอนเหรียญต่างสกุลหรือการโอนข้ามเครือข่าย เนื่องจากนักลงทุนต้องแลกเปลี่ยนคริปโตสกุลเงินหนึ่งไปเป็นอีกสกุลเงินหนึ่ง จำเป็นต้องพึ่งพาตัวกลางอย่างกระดานซื้อขายที่มีการรวมอำนาจ (Centralized) มีค่าธรรมเนียมและมีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้น





Wanchain (WAN) มีการทำงานอย่างไร? 



เครือข่าย Wanchain มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเครือข่ายที่มีโครงสร้างเป็นเหมือนทางเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย (Cross Chain) แบบไร้ตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็นบล็อกเชนแบบเปิด ปิด หรือผสม ให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมข้ามเครือข่ายได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางอย่างกระดานซื้อขาย และ Wanchain ทำงานด้วยระบบฉันทามติอย่าง Galaxy Proof of Stake 





เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ Wanchain (WAN) 



ความสามารถในการทำงานระหว่างเครือข่ายที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมข้ามเครือข่ายได้อย่างหลากหลายผ่านการทำงานของสัญญาอัจฉริยะ



เอกลักษณ์เฉพาะของระบบฉันทามติ Galaxy Proof of Stake คือการทำงานที่มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่มากยิ่งขึ้น เพื่อทดแทนปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณสูงใน





ระบบฉันทามติ Proof of Stake (PoS)



เครือข่ายบล็อกเชนของ Wanchain มีผู้ตรวจสอบธุรกรรม 2 แบบ คือ Validator ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความถูกต้องของธุรกรรมภายในเครือข่าย และ Storeman Validator ที่มีหน้าที่ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างเครือข่ายที่ใช้งานสะพานเชื่อมต่ออย่าง Wanchain 



Wanchain ยังมีเทคโนโลยีในการปกปิดข้อมูลธุรกรรมระหว่างเครือข่าย (Secure Multi Party Computation) เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของข้อมูลระหว่างกระเป๋าบนสองเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของใครก็ตาม ซึ่งนับเป็นรูปแบบหนึ่งของการประยุกต์ใช้การเข้ารหัส





สรุป



Wanchain คือหนึ่งเหรียญที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากเครือข่ายอื่น ๆ ด้วยการเป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างเครือข่ายเพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน ต่างจากเครือข่ายอื่นที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีที่สุดในรูปแบบของตนเอง 



อย่างไรก็ตาม การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทล้วนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ





อ้างอิง:



ExploreWanchain, Wanchain, Binance Research, Coinmarketcap

Crypto

บทความล่าสุด

โทเคนดิจิทัล| Price Today!

อัพเดทตลาด

เนื้อหาและกิจกรรมดังกล่าวจัดทำโดยบริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด ซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.